 |
 |
 |
 |
นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด
|
 |
 |
 |
 |
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร อบจ.ตราด |
 |
 |
 |
 |
สำหรับผู้ที่ยังไม่มี program ใช้งาน
บนเว็บไซต์หรือต้องการเวอร์ชั่นสูงกว่า
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
อา. |
|
|
|
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
คำทักทายกลุ่มประเทศอาเซียน |
 |
 |
 |
 |
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์การบริการส่วนจังหวัดตราด ในภาพรวม ประจำปี พ.ศ.2564

แสกนหรือคลิ้ก
|
 |
 |
 |
 |
|
ประวัติและความเป็นมา
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
1.ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดในภาคตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสาย บางนา – ชลบุรี- บ้านบึง - แกลง - ตราด เป็นระยะทาง 315 กิโลเมตร อาณาเขตพื้นที่ทางบก 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,761,000 ไร่ และพื้นที่ปกครองทางทะเล ประมาณ 7,257 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพูชา มีเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขต
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัด โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและครอบคลุมพื้นที่จังหวัดส่วนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของเทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบล
การจัดรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือ แนะนำ แก่คณะกรรมการจังหวัดโดยยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการส่วนภูมิภาค ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้นเพื่อแยกกฎหมายเกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัดเช่นเดิม จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เนื่องจากบทบาทและการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ต่อมาได้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ซึ่งกำหนดให้องค์การบิหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปหนึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดขึ้นใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 7 กำหนดให้ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น และมาตรา 8 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่เขตจังหวัด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไว้หลายมาตรา ที่สำคัญได้แก่ มาตรา 78 ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและมาตรา 284 หมวด 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการได้เองพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นทั่วถึง
และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่
โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
มาตรา 284 องค์กรปกครองทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองการบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ
การมอบอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ
เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น ให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง
2. การจัดสรรภาษีและอากร ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยคำนึงถึงภาระหน้าที่ของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองเป็นสำคัญ
3. การจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่ตามข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติโดยมีจำนวนเท่ากัน
|
|
|
|
|
|
คำแถลงนโยบายนายก อบจ.ตราด |
การสร้างการรับรู้สู่ชุมชน |
การสร้างการรับรู้สู่ชุมชน |
จริยธรรมของข้าราชการ อบจ.ตราด |
เจตจำนงสุจริตด้านคุณธรรมและความโปร่งใส |
แบบสำรวจความต้องการของประชาชนในการบริการของ อบจ.ตราด |
 |
 |
 |
 |

Trat TK Park - อุทยานการเรียนรู้ตราด |
 |
 |
 |
 |
Trat TK Park - อุทยานการเรียนรู้ตราด
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น |
สายด่วนรับเรื่องร้องทุกข์ชาวต่างประเทศ |
 |
 |
 |
 |
· บุคคลทั่วไป ออนไลน์: 15
· สมาชิก ออนไลน์: 0
· สมาชิกทั้งหมด: 3
· สมาชิกคนล่าสุด: nany_nanny
|
 |
 |
 |
 |
|
|
|